ITA 2024

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของ อปท. (ITA)

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ Integarity  and Transparency Assessment  หรือที่เรียกว่าการประเมิน  ITA ถือเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐเครื่องมือหนึ่ง  โดยเป็นเครื่องมือในเชิงบวกที่มุ่งพัฒนาระบบราชการไทยในเชิงสร้างสรรค์มากกว่ามุ่งจับผิด  เปรียบเสมือนเครื่องมือตรวจสุขภาพองค์กรประจำปี  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร  ผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่ายงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  การให้บริการสามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานภาครัฐ  ดังนั้น  การประเมิน ITA  จึงไม่ได้เป็นเพียงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสเพียงเท่านั้น  แต่ยังเป็นการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน  เพื่อให้ทราบถึงช่องว่างของความไม่เป็นธรรมและความด้อยประสิทธิภาพ  สำหรับนำไปจัดทำแนวทางมาตรการต่างๆ  ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการไทยต่อไป
การประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานภาครัฐได้สำรวจและประเมินตนเอง  เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความตระหนักและปรับปรุงการบริหารงานและกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ  เกิดประโยชน์ต่อประชาชน  และให้ความสำคัญกับด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กรตนเองมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้  การประเมิน ITA  ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นที่สำคัญคือส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทรายบและส่งเสริมให้เกิดการตรวจสอบอีกด้วย
นอกจากนี้  ในด้านของประชาชนและสังคมไทยแล้ว  การประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่ทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการสะท้อนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่พัฒนาการบริหารงานภาครัฐ  เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รับบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้นและยังส่งผลให้ประาชาชนและสาธารณชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมกำกับติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐได้มากขึ้นอีกด้วย
การประเมิน ITA ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  และมีการพัฒนามาเป็นระยะโดยการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.  2566  นี้  นอกจากจะยังมีการประเมินอย่างต่อเนื่องกับปีที่ผ่านมาแล้ว  ยังถือเป็นช่วยพัฒนาเครื่องมือการประเมิน ITA นี้ให้มีประสิทธิภาพในการยกระดับธรรมาภิบาล  ความโปร่งใส  และการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น

แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ  OIT

เป็นแบบวัดที่ให้หน่วยงานแสดงหลักฐานว่ามีการเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดต่อสาธารณชน  ผ่านการระบุ  URL   ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของหน่วยงานลงในระบบ  ITAS  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน  และทำการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงานใน 2  ตัวชี้วัด  ได้แก่ ตัวชี้วัดการเปิดเผย้อมูล (ประกอบด้วย  5  ตัวชี้วัดย่อย  ได้แก่  ข้อมูลพื้นฐาน  การบริหารงาน  การจัดซื้อจัดจ้าง  การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล  และการส่งเสริมความโปร่งใส)  และตัวชี้วัดการป้องกันการทุจริต(ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย  ได้แก่  การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต  และมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส)

    ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน

    1. โครงสร้างองค์กร
    2. ข้อมูลผู้บริหาร
    3. อำนาจหน้าที่
    4. ข้อมูลการติดต่อ
    5. ข่าวประชาสัมพันธ์
    6. Q & A

      ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงานและงบประมาณ

    7. แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน
    8. แผนและความก้าวหน้าในการดําเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี
    9. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
    10. คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
    11. คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสําหรับผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ
    12. ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    13. E-Service

      ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การจัดซื้อจัดจ้าง

    14. รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
    15. ประกาศต่างๆเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
    16. ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
    17. รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจําปี

      ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

    18. แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    19. รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
    20. ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    21. การขับเคลื่อนจริยธรรม

      ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส

    22. แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
    23. ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
    24. ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
    25. การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

      ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดําเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตในประเด็นสินบน

    26. ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
    27. การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
    28. รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
    29. รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา
    30. การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน
    31. รายงานผลการดําเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจําปี

      ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.2 การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

    32. แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
    33. รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
    34. มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
    35. รายงานผลการดําเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน